การสงเคราะห์โลกของหลวงตา

"…เวลามีชีวิตอยู่นี้ เราจะทำความดีให้โลกทั้งหลายได้เป็นคติตัวอย่างอันดีงาม และทำด้วยความเมตตาสงสาร
เพราะหลังจากนี้แล้ว… เราตายแล้ว…เราจะไม่กลับมาเกิดในโลกนี้อีกต่อไป เป็นตลอดอนันตกาล…"

ปณิธานของหลวงตาฯ

"พระช่วยโลกไม่ได้..ใครเล่าจะช่วยได้"

อุปนิสัยที่โดดเด่นประจำองค์หลวงตามหาบัวฯ ตั้งแต่วัยหนุ่มนั้น ท่านเป็นผู้มีเมตตาธรรม มีน้ำใจชอบให้ความช่วยเหลือผู้น้อยผู้ใหญ่ เพื่อนฝูง และผู้ด้อยโอกาสกว่าท่าน จตุปัจจัยไทยทานที่ท่านได้รับมาจึงไม่เคยเหลือเก็บเลย มีมากน้อยเพียงใด หลวงตาฯ ก็นำออกแจกจ่ายคนรอบข้างตลอดมา ความเมตตาดังกล่าวของท่านปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อท่านได้เริ่มตั้งวัดป่าบ้านตาดในปี พ.ศ.2499 ท่านได้ให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือตั้งแต่รายย่อย ได้แก่ คนทุกข์ คนจน คนเจ็บป่วย คนตาบอด คนพิการ คนอนาถา เด็กกำพร้า จำนวนมาก และสำหรับการช่วยเหลือเพื่อสาธารณะประโยชน์นั้น ท่านเน้นความสำคัญเป็นกรณีพิเศษจนถือเป็นกิจวัตรประจำวันของท่านก็ว่าได้ คำกล่าวตอนหนึ่งแสดงได้ชัดเจนถึงความเป็นนักเสียสละของท่าน ดังนี้

"…พอตื่นขึ้น…สิ่งแรกที่คิดถึงก่อนอื่นก็คือเรื่องการช่วยโลก ไม่มีแม้แต่น้อยที่คิดถึงเรื่องตัวเอง… พระช่วยโลกไม่ได้ ใครเล่าจะช่วยได้…"

และคำกล่าวของท่านอีกตอนหนึ่ง

"…ไปดูที่ไหนๆ เราดูจริงๆ ช่วยจริงๆ… ถ้าเรายังไม่ตายแล้วเราจะช่วยตลอดไป ไม่ว่าโรงพยาบาลไหนๆ ช่วยทั้งนั้น
โรงร่ำโรงเรียนก็ปลูกให้เป็นหลังๆ ขาดอุปกรณ์อะไรๆ บ้าง ให้ ให้ ให้ ไม่ว่าแต่โรงพยาบาล สถานสงเคราะห์ต่างๆ เราก็ให้…"


และด้วยความมุ่งมั่นจริงจังของหลวงตาฯ เช่นนี้เอง ส่งผลให้การช่วยโลกของท่านคิดมูลค่าเป็นตัวเงินมีจำนวนมากมายมหาศาลอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติชีวิตของบุคคลใดในประเทศ ท่านเคยคำนวณมูลค่าไว้ว่าจะต้องถึงหลักหมื่นล้านขึ้นไป เพราะท่านให้ความช่วยเหลือรอบด้านรอบทางหลายแง่หลายมุมและช่วยเช่นนี้ตลอดมาตั้งแต่ออกบำเพ็ญธรรม จตุปัจจัยไทยทานทั้งหลายที่ท่านได้รับมาจึงไม่มีเหลือติดเนื้อติดเลย ท่านได้รับมาเท่าไร ท่านก็ให้การสงเคราะห์มากเท่านั้น มีบ่อยครั้งถึงขนาดที่ท่านต้องยอมติดหนี้ติดสินเพราะเหตุผลที่ต้องช่วยเหลือในเรื่องนั้นๆ มีน้ำหนักมากกว่า ท่านจึงยอมออกรับประกันว่า ให้สั่งซื้อสิ่งนั้นได้เลย เมื่อท่านมีจตุปัจจัยเข้ามาท่านจะสั่งจ่ายให้ในทันที

สถานพยาบาล

"…เวลามีชีวิตอยู่นี้ เราจะทำความดีให้โลกทั้งหลายได้เป็นคติตัวอย่างอันดีงาม และทำด้วยความเมตตาสงสาร เพราะหลังจากนี้แล้ว… เราตายแล้ว…เราจะไม่กลับมาเกิดในโลกนี้อีกต่อไป เป็นตลอดอนันตกาล…"
ปณิธานของหลวงตาฯ
"พระช่วยโลกไม่ได้..ใครเล่าจะช่วยได้"

อุปนิสัยที่โดดเด่นประจำองค์หลวงตามหาบัวฯ ตั้งแต่วัยหนุ่มนั้น ท่านเป็นผู้มีเมตตาธรรม มีน้ำใจชอบให้ความช่วยเหลือผู้น้อยผู้ใหญ่ เพื่อนฝูง และผู้ด้อยโอกาสกว่าท่าน จตุปัจจัยไทยทานที่ท่านได้รับมาจึงไม่เคยเหลือเก็บเลย มีมากน้อยเพียงใด หลวงตาฯ ก็นำออกแจกจ่ายคนรอบข้างตลอดมา ความเมตตาดังกล่าวของท่านปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อท่านได้เริ่มตั้งวัดป่าบ้านตาดในปี พ.ศ.2499 ท่านได้ให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือตั้งแต่รายย่อย ได้แก่ คนทุกข์ คนจน คนเจ็บป่วย คนตาบอด คนพิการ คนอนาถา เด็กกำพร้า จำนวนมาก และสำหรับการช่วยเหลือเพื่อสาธารณะประโยชน์นั้น ท่านเน้นความสำคัญเป็นกรณีพิเศษจนถือเป็นกิจวัตรประจำวันของท่านก็ว่าได้ คำกล่าวตอนหนึ่งแสดงได้ชัดเจนถึงความเป็นนักเสียสละของท่าน ดังนี้

"…พอตื่นขึ้น…สิ่งแรกที่คิดถึงก่อนอื่นก็คือเรื่องการช่วยโลก ไม่มีแม้แต่น้อยที่คิดถึงเรื่องตัวเอง… พระช่วยโลกไม่ได้ ใครเล่าจะช่วยได้…"

และคำกล่าวของท่านอีกตอนหนึ่ง

"…ไปดูที่ไหนๆ เราดูจริงๆ ช่วยจริงๆ… ถ้าเรายังไม่ตายแล้วเราจะช่วยตลอดไป ไม่ว่าโรงพยาบาลไหนๆ ช่วยทั้งนั้น โรงร่ำโรงเรียนก็ปลูกให้เป็นหลังๆ ขาดอุปกรณ์อะไรๆ บ้าง ให้ ให้ ให้ ไม่ว่าแต่โรงพยาบาล สถานสงเคราะห์ต่างๆ เราก็ให้…"

และด้วยความมุ่งมั่นจริงจังของหลวงตาฯ เช่นนี้เอง ส่งผลให้การช่วยโลกของท่านคิดมูลค่าเป็นตัวเงินมีจำนวนมากมายมหาศาลอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติชีวิตของบุคคลใดในประเทศ ท่านเคยคำนวณมูลค่าไว้ว่าจะต้องถึงหลักหมื่นล้านขึ้นไป เพราะท่านให้ความช่วยเหลือรอบด้านรอบทางหลายแง่หลายมุมและช่วยเช่นนี้ตลอดมาตั้งแต่ออกบำเพ็ญธรรม จตุปัจจัยไทยทานทั้งหลายที่ท่านได้รับมาจึงไม่มีเหลือติดเนื้อติดเลย ท่านได้รับมาเท่าไร ท่านก็ให้การสงเคราะห์มากเท่านั้น มีบ่อยครั้งถึงขนาดที่ท่านต้องยอมติดหนี้ติดสินเพราะเหตุผลที่ต้องช่วยเหลือในเรื่องนั้นๆ มีน้ำหนักมากกว่า ท่านจึงยอมออกรับประกันว่า ให้สั่งซื้อสิ่งนั้นได้เลย เมื่อท่านมีจตุปัจจัยเข้ามาท่านจะสั่งจ่ายให้ในทันที

หน่วยงานราชการ

หน่วยงานที่ได้รับความอนุเคราะห์จากหลวงตา (อย่างน้อย 85 แห่ง)

กรุงเทพมหานคร (5 แห่ง)

ทัณฑสถานหญิงกรมราชทัณฑ์, บ้านเลี้ยงสุนัขถนนพุทธมณฑล 3, สวนสัตว์ดุสิต , เรือนจำลาดยาว, สถานีตำรวจนครบาลศาลาแดง

เพชรบูรณ์ (4 แห่ง)

สถานีตำรวจภูธร อ.น้ำหนาว, อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว(ห้วยสนามทราย), ป้อมตำรวจห้วยสนามทราย , บ้านรวมใจรักษ์ ศูนย์บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กและเยาวชน อ.หล่มสัก

นนทบุรี (2 แห่ง)

บ้านสงเคราะห์เด็กปากเกร็ด, สถานสงเคราะห์สัตว์พิการ

สกลนคร (3 แห่ง)

สถานีตำรวจภูธรกิ่ง อ.ภูพาน, โครงการพระราชดำริฝนหลวง, เรือนจำสว่างแดนดิน

อุตรดิตถ์ (3 แห่ง)

โรงเรียนฟากท่าวิทยา, โรงเรียนบ้านนาหน่ำ, โรงเรียนวัดบ้านปากไพร

หนองบัวลำภู (2 แห่ง)

เรือนจำกลางจังหวัด , กองกำกับการตำรวจภูธร

ลำปาง (1 แห่ง)

ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด

กาญจนบุรี (1 แห่ง)

มูลนิธิวัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

ศาสนา

สำหรับการสงเคราะห์ช่วยเหลือเกี่ยวกับการศาสนา นั้น หลวงตาฯ ให้ความสำคัญกับวัดกรรมฐานเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรมอันเป็นงานหลักในพระพุทธศาสนา ท่านจึงให้ความอุปถัมภ์ค้ำชูในด้านต่างๆ จำนวนมาก เช่น ซื้อที่ดินสร้างวัด, ศาลา, ขุดสระ สร้างกำแพงล้อมรอบเพื่อรักษาสัตว์ป่าและสภาพป่าภายในวัด จัดตั้งวัดโดยร่วมมือกับกรมป่าไม้ เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรมและรักษาสถานที่สงบสงัดไว้ให้กุลบุตรสุดท้ายได้บำเพ็ญธรรม จัดหาอาหารสด อาหารแห้ง เครื่องอุปโภคบริโภค พร้อมจัดส่งด้วยรถบรรทุกเป็นประจำทุกเดือนแก่วัดยากจนในถิ่นทุรกันดาร เพื่อรับเลี้ยงพระผู้มุ่งอรรถมุ่งธรรมให้มีชีวิตพอเป็นไปในการประพฤติปฏิบัติธรรม บริจาครถกระบะแก่วัดกรรมฐาน สำหรับบรรทุกอาหารเลี้ยงดูสัตว์ป่า บริจาคจตุปัจจัยไทยทานแก่วัดกรรมฐานในถิ่นทุรกันดารกว่า 100 วัดในจังหวัดใกล้เคียงทั้งในยามปกติ และในเทศกาลบุญสำคัญ เช่น กฐิน, บุญประทายข้าว, บุญเข้าพรรษา, เทศกาลปีใหม่, เทศกาลสงกรานต์ ฯลฯ ช่วยเหลือค่าอาหาร น้ำตาล แก่วัดที่เรียนด้านปริยัติธรรมในจังหวัดอุดรธานี วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างฌาปนสถานและศาลาพักศพ ฯลฯ

สัตว์พิการ

อีกด้านหนึ่งซึ่งแสดงถึงความเมตตาอันยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณของหลวงตาฯก็คือ ไม่ว่าท่านมีโอกาสได้เดินทางไปยังสถานที่ใด ท่านจะต้องจัดหาอาหารสด อาหารแห้ง ไปแจกจ่ายเป็นทานแก่สัตว์ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงหรือจังหวัดใกล้เคียง ชนิดของสัตว์ที่ให้การสงเคราะห์มีหลายประเภท เช่น สุนัข, ปลา, จระเข้, เสือ, เก้ง, กวาง, ชะนี, ลิง, ไก่ป่า, กระรอก, กระแต, กระต่ายป่า, หมูป่า รวมไปถึงสัตว์ที่อยู่ตามห้วยหนองคลองบึงทั่วไป ตลอดจนในสวนสัตว์หลายแห่ง ฯลฯ นอกจากนี้ ความเมตตาของท่านยังครอบคลุมไปถึงแม้แต่สัตว์พิการกว่าพันชีวิตที่อยู่ในสถานสงเคราะห์สัตว์พิการหรือบ้านสัตว์พิการ หลวงตาฯก็ไม่เคยมองข้ามไป การช่วยเหลือจึงมีหลายประเภท อาทิเช่น ค่าอาหารต่อเดือนกว่า 200,000 บาท, ซื้อที่ดิน, สร้างอาคาร 3 ชั้นเป็นที่พักสัตว์พิการ, ค่าจ้างสัตวแพทย์ดูแลสัตว์, ค่าน้ำ, ค่าไฟ ฯลฯ