คำบูชาพระรัตนตรัย |
- อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)
- สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)
- สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
| - พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ) - พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว , ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระธรรม (กราบ)
- พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)
|
บทสวดนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า |
- นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ )
| - ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ (กราบ)
|
บทสวดพุทธานุสสติ |
- อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุขโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ,สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ)
| - เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส และตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญ เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้.
|
บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ ทำนองสรภัญญะ |
องค์ใดพระสัมพุทธ ตัดมูลเกลศมาร หนึ่งในพระทัยท่าน ราคี บ พันพัว องค์ใดประกอบด้วย โปรดหมู่ประชากร ชี้ทางบรรเทาทุกข์ ชี้ทางพระนฤพาน พร้อมเบญจพิธจัก- เห็นเหตุที่ใกล้ไกล กำจัดน้ำใจหยาบ สัตว์โลกได้พึ่งพิง ข้าขอประณตน้อม สัมพุทธการุญ- | สุวิสุทธสันดาน บ มิหม่นมิหมองมัว ก็เบิกบานคือดอกบัว สุวคนธกำจร พระกรุณาดังสาคร มละโอฆกันดาร และชี้สุขเกษมสานต์ อันพ้นโศกวิโยคภัย ษุจรัสวิมลใส ก็เจนจบประจักษ์จริง สันดานบาปแห่งชายหญิง มละบาปบำเพ็ญบุญ ศิรเกล้าบังคมคุณ ญภาพนั้นนิรันดร (กราบ) |
|
บทสวดธัมมานุสสติ |
- สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ (กราบ)
| - พระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้
|
บทสวดสรรเสริญพระธรรมคุณ ทำนองสรภัญญะ |
ธรรมะคือคุณากร | ส่วนชอบสาธร | ดุจดวงประทีปชัชวาล | | แห่งองค์พระศาสดาจารย์ | ส่องสัตว์สันดาน | สว่างกระจ่างใจมล | | ธรรมใดนับโดยมรรคผล | เป็นแปดพึงยล | และเก้านับทั้งนฤพาน | | สมญาโลกอุดรพิสดาร | อันลึกโอฬาร | พิสุทธิ์พิเศษสุกใส | | อีกธรรมต้นทางครรไล | นามขนานขานไข | ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง | | คือทางดำเนินดุจครอง | ให้ล่วงลุปอง | ยังโลกอุดรโดยตรง | | ข้าขอโอนอ่อนอุตมงค์ | นบธรรมจำนง | ด้วยจิตและกายวาจาฯ (กราบ) | |
|
บทสวดสังฆานุสสติ |
- สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง, จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย, อัญชะลีกะระณีโย, อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ)
| - พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ (กราบ)
|
บทสวดสรรเสริญพระสังฆคุณ ทำนองสรภัญญะ |
สงฆ์ใดสาวกศาสดา | รับปฏิบัติมา | แต่องค์สมเด็จภควันต์ | | เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรร- | ลุทางที่อัน | ระงับและดับทุกข์ภัย | | โดยเสด็จพระผู้ตรัสไดร | ปัญญาผ่องใส | สะอาดและปราศมัวหมอง | | เหินห่างทางข้าศึกปอง | บ มิลำพอง | ด้วยกายและวาจาใจ | | เป็นเนื้อนาบุญอันไพ- | ศาลแด่โลกัย | และเกิดพิบูลย์พูนผล | | สมญาเอารสทศพล | มีคุณอนนต์ | อเนกจะนับเหลือตรา | | ข้าขอนพหมู่พระศรา- | พกทรงคุณา- | นุคุณประดุจรำพัน | | ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์ | พระไตรรัตน์อัน | อุดมดิเรกนิรัติศัย | | จงช่วยขจัดโพยภัย | อันตรายใดใด | จงดับและกลับเสื่อมสูญ (กราบ) | |
|
|
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ, | ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเดียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า, ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้าในกาลต่อไป. | กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มายา ยัง, ธัมโม ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม | ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเดียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระธรรม, ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อสำรวมระวัง ในพระธรรมในกาลต่อไป. | กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, สังโฆ ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ | ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเดียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระสงฆ์, ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ในกาลต่อไป. |
|